วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

สงครามล้างเผ่าพันธ์ในราวันดา ..ขออย่าให้เกิดในเมืองไทยเลย

สงครามกลางเมือง รวัลดา


การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา โศกนาถกรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้นในเมืองไทย

เมื่อหลายสิบปีก่อน มีข่าวใหญ่สะท้านโลกข่าวหนึ่งคือ ข่าวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ในแอฟริกา ข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ค่อนข้างสะเทือนขวัญชาวโลก ที่แม้แต่เพื่อนบ้านกันเองที่มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมานาน  ก็ยังจับอาวุธขึ้นมาฆ่ากันเองกระจายไปทั่วประเทศ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นคนไทยส่วนใหญ่อาจลืมเลือนไป เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ประเทศไทยก็เจอกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเล่นงานเสียงอมแหงม แล้วเรื่องรวันดาก็จางหายไป

เรื่องรวันดามาสะกิดใจชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีภาพยนต์ดังเรื่อง Hotel Rwanda ออกฉาย ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ได้สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศรวันดา ที่ผู้จัดการโรงแรมชาวฮูตูได้ช่วยชีวิตชาวตุ๊ดชี่ไว้หลายพันคน จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
 Rwanda คือชื่อของประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาล้อมรอบไปด้วยประเทศ ยูกันดา บุรุนดี คองโก และแทนซาเนีย ปัจจุบันประเทศ Rwanda มีเมืองหลวงชื่อว่า กรุง Kigali
เดิมทีดินแดนนี้เคยเรียกว่า Ruada-Urundi เคยรวมอยู่กับ Burundi แล้วตกเป็นอาณานิคมของเยอรมัน พศ. 2433  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเยอรมันแพ้สงคราม ทำให้รวันดา ตกอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ โดยมีเบลเยี่ยมเป็นผู้ดูแลแทนองค์การสหประชาชาติ โดยในขณะนั้นรวันดามีการปกครองแบบมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนของรวันดา ประกอบด้วยคนสองเผ่าคือ เผ่าตุ๊ดชี่ (Tutsi) ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ มีประมาณร้อยละ 15 แต่กลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีการศึกษาดีและส่วนใหญ่เป็นพวกนักรบ อีกเผ่าหนึ่งซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ เผ่าฮูตู (Hutu) ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีอาชีพทางด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่
 เมื่อปี พศ.2502 ได้เกิดสงครามระหว่างประชากรทั้งสองเผ่าขึ้น ซึ่งผลของสงครามทำให้ชนเผ่าตุ๊ดชี่ หมดอำนาจลง และ 2 ปีต่อมา เบลเยี่ยมได้จัดให้มีการลงประชามติ เกี่ยวกับเอกราชของรวันดา และผลของประชามติ คือ ชาวรวันดาต้องการที่จะปกครองตนเอง เบลเยี่ยมจึงให้เอกราชแก่รวันดา ในวันที่ 1กรกฎาคม 2505 (1962) รวันดาจึงได้กลายเป็นสาธารณรัฐ มีการร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง
 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคของชาวเผ่า ฮูตู (Hutu) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล มีนาย Gregoire Kayibanda เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรวันดา แต่อย่างไรก็ตาม ในปี พศ.2506 – 2507 ก็ได้เกิดสงครามระหว่างชนทั้งสองเผ่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผลของสงครามทำให้เผ่าตุ๊ดชี่ถูกฆ่าตายไปหลายพันคน และอีกหลายหมื่นคนต้องหนีไปอยู่ยูกันดาและบุรุนดี
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2516  พลเอก Juvenal Habyarimanaทำรัฐประหาร ขับไล่ประธานาธิบดี Kayibanda ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกออกจากตำแหน่ง ซึ่งการรัฐประหารทำให้พรรคของชนเผ่าฮูตูหมดอำนาจลง โดยพรรคของเผ่าตุ๊ดชี่ ซึ่งควบคุมโดยกองทัพ เข้ามามีอำนาจแทน
 ประธานาธิบดี พลเอก Juvenal Habyarimana มีนโยบายขจัดลัทธิเผ่านิยม เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศ ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2521 ทำให้พรรค MRND ซึ่งควบคุมโดยกองทัพ เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว นโยบายสำคัญของพรรค MRND คือ ขจัดความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ และสร้างเอกภาพให้แก่ชาติ โดยอำนาจตุลาการใช้ผ่านทางศาลและ คณะรัฐมนตรี (Council of State)
       ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี พลเอก Juvenal Habyarimana ซึ่งเป็นชนเผ่าฮูตู โดยมี่สาเหตุมาจากเครื่องบินตก ในวันที่ 6 เมษายน 2537 ซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ และการเริ่มต้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยพวกฮูตูได้โฆษณาชวนเชื่อว่า ประธานาธิบดีของชนเผ่าฮูตูตายนั้นเกิดจากฝีมือของชนเผ่าตุ๊ดชี่ 
และในวันที่ 8 เมษายน 2537  Dr.Theodore Sindikubwabo ชนเผ่าฮูตู ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน
การปลุกระดมและการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เพื่อยุยงให้มีการฆ่าชนเผ่าตุ๊ดซี่ ก็เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นตนมา ซึ่งพวกอาสาสมัครที่ ของเผ่าฮูตูที่มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างลับๆ ทั่วประเทศ มีมีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธ ก็ได้รวมกลุ่มกันสังหารหมู่ชาวตุ๊ดชี่ เป็นจำนวนมาก แม้ในขณะนั้น จะมีทหารขององค์การสหประชาชาติ ประจำอยู่ในประเทศรวันดาก็ตาม แต่ทหารเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขนานใหญ่นี้ได้เลย ผลของการฆ่าที่ดำเนินไปเป็นเวลากว่า 2 เดือน ทำให้ชาวตุ๊ดชี่สังเวยชีวิตถึง 800,000 คน รวมทั้งชาวฮูตู มากกว่า50,000 คน
       เรื่องเล่าที่เป็นโศกนาฎกรรมคือ บางครอบครัวหัวหน้าครอบครัวต้องลงมือสังหารบุตร และภรรยาของตนเอง เพียงเพื่อให้ลูกๆ และภรรยาไม่ต้องตายอย่างทรมาณ เพราะหากปล่อยให้พวกอาสาสมัครฮูตูฆ่าเอง พวกนั้นจะตัดมือตัดแขน และปล่อยให้ตายเองอย่างทรมาน หลายครอบครัวจึงขอลงมือสังหารเอง เนื่องจากไม่มีทางรอดแล้ว
    เมื่อเราเทียบเหตุการณ์ในครั้งนั้นกับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว โดยฮิตเลอร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน รวันดา กลับมีจำนวนคนตายมากกว่าถึง 3 เท่าภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงสองเดือนเท่านั้น...!!และเหตุใดทำไม ชนเผ่าฮูตู ถึงได้ ฆ่าชนเผ่าตุ๊ดชี่ ได้อย่างรวดเร็วและมากมายได้ขนาดนั้น ทั้งที่ช่วงนั้นประเทศ รวันดา ก็อยู่ภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของทหารสหประชาชาติ (ฝรั่งเศส เป็นผู้นำในการดูแลประเทศรวันดาในขณะนั้น) ในขณะที่โลกเราขณะนั้นก็มีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน...ในขณะที่อเมริกา มีประธานาธิบดีที่ชื่อ Bill Clinton ......?......


บันเทิง ท่องเที่ยว
Rwanda
 
ศุกร์ ที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2551


Rwanda
โดย ice angel
                                              

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา : โศกนาถกรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้นในเมืองไทย

เมื่อหลายสิบปีก่อน มีข่าวใหญ่สะท้านโลกข่าวหนึ่งคือ ข่าวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ในแอฟริกา ข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ค่อนข้างสะเทือนขวัญชาวโลก ที่แม้แต่เพื่อนบ้านกันเองที่มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมานาน  ก็ยังจับอาวุธขึ้นมาฆ่ากันเองกระจายไปทั่วประเทศ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นคนไทยส่วนใหญ่อาจลืมเลือนไป เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ประเทศไทยก็เจอกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเล่นงานเสียงอมแหงม แล้วเรื่องรวันดาก็จางหายไป

เรื่องรวันดามาสะกิดใจชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีภาพยนต์ดังเรื่อง Hotel Rwanda ออกฉาย ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ได้สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศรวันดา ที่ผู้จัดการโรงแรมชาวฮูตูได้ช่วยชีวิตชาวตุ๊ดชี่ไว้หลายพันคน จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

Rwanda คือชื่อของประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาล้อมรอบไปด้วยประเทศ ยูกันดา บุรุนดี คองโก และแทนซาเนีย ปัจจุบันประเทศ Rwanda มีเมืองหลวงชื่อว่า กรุง Kigali

                              

                                           
เดิมทีดินแดนนี้เคยเรียกว่า Ruada-Urundi เคยรวมอยู่กับ Burundi แล้วตกเป็นอาณานิคมของเยอรมัน พศ. 2433  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเยอรมันแพ้สงคราม ทำให้รวันดา ตกอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ โดยมีเบลเยี่ยมเป็นผู้ดูแลแทนองค์การสหประชาชาติ โดยในขณะนั้นรวันดามีการปกครองแบบมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนของรวันดา ประกอบด้วยคนสองเผ่าคือ เผ่าตุ๊ดชี่ (Tutsi) ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ มีประมาณร้อยละ 15 แต่กลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีการศึกษาดีและส่วนใหญ่เป็นพวกนักรบ อีกเผ่าหนึ่งซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ เผ่าฮูตู (Hutu) ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีอาชีพทางด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่

เมื่อปี พศ.2502 ได้เกิดสงครามระหว่างประชากรทั้งสองเผ่าขึ้น ซึ่งผลของสงครามทำให้ชนเผ่าตุ๊ดชี่ หมดอำนาจลง และ 2 ปีต่อมา เบลเยี่ยมได้จัดให้มีการลงประชามติ เกี่ยวกับเอกราชของรวันดา และผลของประชามติ คือ ชาวรวันดาต้องการที่จะปกครองตนเอง เบลเยี่ยมจึงให้เอกราชแก่รวันดา ในวันที่ 1กรกฎาคม 2505 (1962) รวันดาจึงได้กลายเป็นสาธารณรัฐ มีการร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคของชาวเผ่า ฮูตู (Hutu) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล มีนาย Gregoire Kayibanda เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรวันดา แต่อย่างไรก็ตาม ในปี พศ.2506 – 2507 ก็ได้เกิดสงครามระหว่างชนทั้งสองเผ่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผลของสงครามทำให้เผ่าตุ๊ดชี่ถูกฆ่าตายไปหลายพันคน และอีกหลายหมื่นคนต้องหนีไปอยู่ยูกันดาและบุรุนดี
                               
                               
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2516  พลเอก Juvenal Habyarimanaทำรัฐประหาร ขับไล่ประธานาธิบดี Kayibanda ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกออกจากตำแหน่ง ซึ่งการรัฐประหารทำให้พรรคของชนเผ่าฮูตูหมดอำนาจลง โดยพรรคของเผ่าตุ๊ดชี่ ซึ่งควบคุมโดยกองทัพ เข้ามามีอำนาจแทน

ประธานาธิบดี พลเอก Juvenal Habyarimana มีนโยบายขจัดลัทธิเผ่านิยม เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศ ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2521 ทำให้พรรค MRND ซึ่งควบคุมโดยกองทัพ เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว นโยบายสำคัญของพรรค MRND คือ ขจัดความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ และสร้างเอกภาพให้แก่ชาติ โดยอำนาจตุลาการใช้ผ่านทางศาลและ คณะรัฐมนตรี (Council of State)

ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี พลเอก Juvenal Habyarimana ซึ่งเป็นชนเผ่าฮูตู โดยมี่สาเหตุมาจากเครื่องบินตก ในวันที่ 6 เมษายน 2537 ซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ และการเริ่มต้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยพวกฮูตูได้โฆษณาชวนเชื่อว่า ประธานาธิบดีของชนเผ่าฮูตูตายนั้นเกิดจากฝีมือของชนเผ่าตุ๊ดชี่ 
และในวันที่ 8 เมษายน 2537  Dr.Theodore Sindikubwabo ชนเผ่าฮูตู ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน
                               
                                                             
การปลุกระดมและการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เพื่อยุยงให้มีการฆ่าชนเผ่าตุ๊ดซี่ ก็เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นตนมา ซึ่งพวกอาสาสมัครที่ ของเผ่าฮูตูที่มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างลับๆ ทั่วประเทศ มีมีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธ ก็ได้รวมกลุ่มกันสังหารหมู่ชาวตุ๊ดชี่ เป็นจำนวนมาก แม้ในขณะนั้น จะมีทหารขององค์การสหประชาชาติ ประจำอยู่ในประเทศรวันดาก็ตาม แต่ทหารเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขนานใหญ่นี้ได้เลย ผลของการฆ่าที่ดำเนินไปเป็นเวลากว่า 2 เดือน ทำให้ชาวตุ๊ดชี่สังเวยชีวิตถึง 800,000 คน รวมทั้งชาวฮูตู มากกว่า50,000 คน

เรื่องเล่าที่เป็นโศกนาฎกรรมคือ บางครอบครัวหัวหน้าครอบครัวต้องลงมือสังหารบุตร และภรรยาของตนเอง เพียงเพื่อให้ลูกๆ และภรรยาไม่ต้องตายอย่างทรมาณ เพราะหากปล่อยให้พวกอาสาสมัครฮูตูฆ่าเอง พวกนั้นจะตัดมือตัดแขน และปล่อยให้ตายเองอย่างทรมาน หลายครอบครัวจึงขอลงมือสังหารเอง เนื่องจากไม่มีทางรอดแล้ว

เมื่อเราเทียบเหตุการณ์ในครั้งนั้นกับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว โดยฮิตเลอร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน รวันดา กลับมีจำนวนคนตายมากกว่าถึง 3 เท่าภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงสองเดือนเท่านั้น...!!และเหตุใดทำไม ชนเผ่าฮูตู ถึงได้ ฆ่าชนเผ่าตุ๊ดชี่ ได้อย่างรวดเร็วและมากมายได้ขนาดนั้น ทั้งที่ช่วงนั้นประเทศ รวันดา ก็อยู่ภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของทหารสหประชาชาติ (ฝรั่งเศส เป็นผู้นำในการดูแลประเทศรวันดาในขณะนั้น) ในขณะที่โลกเราขณะนั้นก็มีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน...ในขณะที่อเมริกา มีประธานาธิบดีที่ชื่อ Bill Clinton ......?......


                                    

เหตุใดทั่วทั้งโลกจึงเมินเฉยต่อเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์...ในครั้งนั้น ทำไม?
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเหตุของความรุนแรงนั้นมาจากอคติทางเชื้อชาติ อคติทางการเมือง แต่มีบทสรุปที่น่าสนใจของเหตุการณ์ครั้งนั้นที่ได้ถ่ายทอด ออกมาเป็นหนังสือชื่อว่าสื่อมวลชนกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา (
The Media and the Rwanda Genocide, Pluto Press, 2007) ในหนังสือมีเนื้อหาหลักๆ ที่เป็นข้อถกเถียงที่น่าสนใจคือ  คำถามใหญ่ที่ว่า สื่อมีบทบาทในการก่อให้เกิดความรุนแรงจริงหรือไม่ ?”

1. สื่อแพร่กระจายความเกลียดชังอย่างตั้งใจ ผ่านคำพูด เพลงปลุกระดม คำขวัญ
2.สื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการลงมือก่อความรุนแรงระหว่างนักการเมืองหัวรุนแรงกับเครือข่ายของพวกเขา  มีหลักฐานมากมายว่าสถานีวิทยุ RTLM..... เช่นสหประชาติ ท่านนายพล Dallaire ประกาศที่ประเทศรวันดาว่า สนธิสัญญายุติสงคราม พี่น้องเผ่าฮูตูกับเผ่าตุ๊ด สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางความดีใจของประชาชนในประเทศ รวันดา แต่รายการวิทยุ Hutu Power Radio กลับปลุกระดม และกระจายเสียงให้ชนเผ่า ชาวฮูตู เกลียดและให้ฆ่าพี่น้องชนเผ่าตุ๊ดชี่

3.สื่อทำหน้าที่ชี้นำสาธารณะให้เห็นว่าความรุนแรงเป็นทางออกและจำกัดทางเลือกของการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี สื่อวิทยุบางสถานีและหนังสือพิมพ์บางฉบับใน รวันดา จงใจชี้นำสาธารณะชน ว่าความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง พวกเราคนส่วนใหญ่ กับ พวกเขาคนส่วนน้อย  เป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว
และนั่นคือส่วนหนึ่งของบทสรุปของเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่า ทำไมถึงได้มียอดผู้เสียชีวิตมาก ถึง800,000 คน
                ภายหลังจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นักวิชาการต่างๆ ทั่วโลกได้ศึกษากรณีนี้ และได้เรียนรู้แล้วว่า กรณีรวันดา มีสาเหตุหลักๆ มาจากอะไร โดยสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่ง มาจากสื่อมวลชน ที่กระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังกันอย่างรุนแรง จนเพื่อนบ้านกันจับอาวุธขึ้นมาฆ่ากันเอง
 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดานี้ แม้ว่าจะจบไปแล้วกว่า 14 ปี แต่ก็เป็นบทเรียนและอุทาหรณ์ให้กับประเทศไทย ที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้งกันทางการเมืองอย่างยาวนานมากกว่าสองปีแล้ว และเราก็รู้แล้วว่า สื่อมวลชน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ปลุกระดมสร้างความเกลียดชังขึ้นอย่างทั่วไป สื่อมวลชน ทำหน้าที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างดี ที่ราดเข้าไปในกองเพลิงแห่งความเกลียดชังให้ลุกโพลงขึ้นทั่วประเทศ สื่อมวลชนได้ตอกย้ำถึงความขัดแย้ง
สำหรับเรา ที่เป็นคนไทยด้วยกันเองแล้ว เราจะปล่อยให้ประเทศเราต้องเดินตามรอยของประวัติศาสตร์ในรวันดา อย่างนั้นหรือ ?
 สื่อเท่านั้นที่รู้ ประชาชนเท่านั้นที่จะเข้าใจ และไม่อยากให้เกิดกรณี การเข่นฆ่ากันแบบรวันดาในประเทศไทย

สำหรับ ภาพยนตร์ เรื่อง Hotel Rwanda (Hotel Rwanda has been called an African Schindler''s List) เป็นหนังที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง ซึ่งอาศัยอยู่ในมุมมุมหนึ่งของประเทศ เป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่เหตุใดและทำไม... ? ทหารสหประชาชาติไม่สามารถเข้าระงับเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้
 โดยเนื้อเรื่องของหนังสร้างจากเรื่องจริงจาก ตัวละคร ที่ชื่อว่า พอล รูสซาบาจิน่า  (PaulRusesabagina)มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเบลเยียม นายพล Dallaire มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันเกษียญอายุราชการและพำนักอยู่ที่แคนนาดา


สงครามล้างเผ่าพันธ์ใน..ราวันดา..(อย่าให้มันต้องเกิดในสยามเลย)

ทำไมรวันดา? ในปี ค.ศ. 1994 เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ขึ้นในรวันดา ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ภายในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน ชาวทุตซี่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรวันดา (15 % ของประชากร) ถูกฆ่าตายไปทั้งสิ้น 800,000 คน (มากกว่า 80% ของประชากรทุตซี่) นับเป็นการสังหารหมู่ที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นักสังเกตการณ์หลายคนเรียกมันว่า โฮโลคอสต์ ภาค 2 (Holocaust คือ ชื่อเรียกการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิวโดยระบอบนาซีในช่วงสงครามโกลครั้งที่ สอง) รวันดา "ประเทศเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา มีประชากรประมาณ 8 ล้านคนเศษ  เคยเป็นอาณานิคมของ เบลเยียมมาก่อน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษากินยาร์วันดา ประชาชนของรวันดา ประกอบด้วยคนสองเผ่าคือ เผ่าตุ๊ดชี่ (Tutsi) ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ มีประมาณร้อยละ 15 แต่กลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีการศึกษาดีและส่วนใหญ่เป็นพวกนักรบ อีกเผ่าหนึ่งซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ เผ่าฮูตู (Hutu) ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีอาชีพทางด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่เผ่าฮูตู และตุดซี่ ต่างผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นบริหารประเทศ แล้วแต่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้ง   รวันดา เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนยากจน  อัตราการศึกษาของคนในชาติต่ำ การแบ่งปันทรัพยากรไม่เป็นธรรม สังคมขาดความยุติธรรม ความขัดแย้งจึงมีขึ้นเป็นระยะ พอมีความขัดแย้งกันก็มักใช้ความรุนแรงตอบโต้กันไปมา การ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้น เกิดขึ้นในช่วง  6 เมษายน -กลางกรกฎาคม 2537 (100 วัน) เมื่อเผ่าฮูตู   ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศขึ้นเป็นรัฐบาล มีการปล่อยให้ ทหารบ้านชาวฮูตูสะสมอาวุธ และปล่อยให้วิทยุ  โทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อสำคัญของรัฐที่เป็นชาวฮูตู โหมกระพือความขัดแย้ง     มีการรังแกชาวตุดซี่จากความได้เปรียบที่ฝ่ายตนเป็นรัฐบาล ชาวตุดซี่นำโดย นาย พอล คามากา ได้ตั้งกลุ่มชาวตุดซี่ขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล "เรียกว่ากฎบตุดซี่ มี การใช้สื่อเพื่อปลุกระดม รวบรวมชาวตุดซี่ให้ลุกขึ้นต่อต้าน รัฐบาลชาวฮูตูเห็นว่าชักจะคุมชาวตุดซี่ไม่ได้จึง มีการใช้มาตรการรุนแรง ให้ทหารรัฐ และ ทหารบ้านชาวฮูตู คัดแยกชาวฮูตู ออกจากชาวตุดซี่   มีการประกาศปลุกระดมว่าชาวตุดซี่เป็นกบฎถ้าไม่เห็นด้วยกับฮู ตูก็ให้ถือเป็นพวกตุดซี่ทั้งหมดและเริ่มเกิดการฆ่าชาวตุดซี่ โดยทหารบ้านชาวฮูตู   ทหารบ้านก็พวกอาสาสมัครอะไรประมณเนี้ย ชาวตุดซี่่จึงเริ่มมีกองกำลัง มีการใช้กำลังลุกฮือขึ้นต่อสู้ จนถึงขั้นฆ่านายกรัฐมนตรีชาวฮูตูตาย มีการฆ่ากันตายของคนทั้งสองฝ่ายทั่วรวันดา จากที่เคยรักใคร่เป็นเจ้านายลูกน้องกัน เป็นเพื่อนรักกัน จากที่เป็นเพื่อนบ้านกัน ที่เป็นญาติพี่น้องกัน ฆ่ากันตายมั่วไปหมด เกิดเหตุ จลาจล ปล้นสดมภ์ ข่มขืน ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ 6 เมษายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537  ชนพื้นเมืองชาวตุดซี (Tutsi) และชนพื้นเมืองชาวฮูตู (Hutu) ถูกสังหารไปปประมาณ 800,000-1,071,000 คน สังคมของรวันดาล่มสลายหมด เหตุผล ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่โหดเ้***้ยมมอย่างนั้นขึ้นได้  ไม่มีสิ่งใด นอกจาก "ความเกลียดชัง" ที่ปลุกฝังกันมาก่อนหน้านั้น ให้เกลียดทุกเรื่องที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย มีบทสรุปที่น่าสนใจของเหตุการณ์ครั้งนั้นที่ได้ถ่ายทอด ออกมาเป็นหนังสือชื่อว่าสื่อมวลชนกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา (The Media and the Rwanda Genocide, Pluto Press, 2007) ในหนังสือมีเนื้อหาหลักๆ ที่เป็นข้อถกเถียงที่น่าสนใจคือ  คำถามใหญ่ที่ว่า “สื่อมีบทบาทในการก่อให้เกิดความรุนแรงจริงหรือไม่ ?” 1. สื่อแพร่กระจายความเกลียดชังอย่างตั้งใจ ยุยงผ่านคำพูด เพลงปลุกระดม คำขวัญ บทกลอน2. สื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการลงมือก่อความรุนแรงระหว่างนักการเมือง หัวรุนแรงกับเครือข่ายของพวกเขา มีหลักฐานมากมายว่าสถานีวิทยุ RTLM….. เช่นสหประชาติ ท่านนายพล Dallaire ประกาศ ที่ประเทศรวันดาว่า สนธิสัญญายุติสงคราม พี่น้องเผ่าฮูตูกับเผ่าตุ๊ด สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางความดีใจของประชาชนในประเทศ รวันดา แต่รายการวิทยุ Hutu Power Radio กลับปลุกระดม และกระจายเสียงให้ชนเผ่า ชาวฮูตู เกลียดและให้ฆ่าพี่น้องชนเผ่าตุ๊ดชี่ 3.สื่อ ทำหน้าที่ชี้นำสาธารณะให้เห็นว่าความรุนแรงเป็นทางออกและไม่เห็นด้วยกับ การแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี วิทยุบางสถานีและหนังสือพิมพ์บางฉบับใน รวันดา จงใจชี้นำสาธารณะชน ว่าความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง “พวกเราคนส่วนใหญ่” กับ “พวกเขาคนส่วนน้อย”    "เป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว"   "สิ่งที่พวกตนกำลังดำเนินการอยู่เป็นเรื่องที่ทำได้ ชอบธรรม   คุ้มกับสิ่งที่ต้องเสียไป "และนั่นคือส่วนหนึ่งของบทสรุปของเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่า ทำไมถึงได้มียอดผู้เสียชีวิตมาก ถึง 800,000 คน จนกระทั่งคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม แตกแยกกันอย่างสิ้นเชิง  เจ้านายเป็น ตุดซี่ ลูกน้องเป็น ฮูตู หรือ บ้างก็มี เจ้านายเป็นฮูตู และลูกน้องเป็นตุดซี่ หรือเป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมงานกัน แม้กระทั่งเป็นสามีภรรยากัน มีลูกกัน กลายเป็นญาติกัน เป็นคนรักกันแต่ตอนหลังต้องมาขัดแย้งกัน เรื่อง เล่าที่เป็นโศกนาฎกรรมคือ บางครอบครัวหัวหน้าครอบครัวต้องลงมือสังหารบุตร และภรรยาของตนเอง เพียงเพื่อให้ลูกๆ และภรรยาไม่ต้องตายอย่างทรมาณ เพราะหากปล่อยให้พวก ทหารบ้าน (อาสาสมัคร) ฮูตูฆ่าเอง พวกนั้นจะตัดมือตัดแขน และปล่อยให้ตายเองอย่างทรมาน หลายครอบครัวจึงขอลงมือสังหารเอง เนื่องจากไม่มีทางรอดแล้ว มนุษย์ มีบทเรียนทางประวัติศาสตร์ให้ทบทวนมากมาย แต่เหตุร้ายมักกลับมา หมุนเวียนไปที่นั่นที่นี่ เสมอๆจากยุโรป สู่ตะวันออกกลาง สู่กัมพูชา ไปจนถึงรวันดา Credit:atcloud.com...(คนชาติเดียวกันเกิดมาบนผืนแผ่นเดียวกัน..แต่แบ่งแยก แบ่งเผ่ากัน..ผมว่ามันคงไม่มีปัญหา..จุดสำคัญคือคนที่อยากแบ่งแยกแบ่งความ เป็นชาติเดียวกัน..จุดสำคัญทีต้องสอยลง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น